วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ศาสนิกชนตัวอย่าง

พระนาคเสน-พระยามิลินท์
   - ประวัติโดยย่อ
เป็นผู้ทำให้พระเจ้ามิลินท์กลับมานับถือพุทธศาสนา และสนับสนุนเป็นอย่างดี ในมิลินทปัญหากล่าวว่า พระนาคเสนเกิดที่เมืองกชังคละ แถบภูเขาหิมาลัย บิดาเป็นพราหมณ์ชื่อว่าโสณุตตระ ในวัยเด็กอายุ ๗ ขวบได้ศึกษาไตรเพทและศาสตร์อื่นๆ จนเจนจบครบถ้วน จึงถามบิดาว่ายังมีศาสตร์อื่นที่จะต้องเรียนอีกบ้างไหม บิดาตอบว่ามีเท่านี้แหล่ะ
ต่อมาวันหนึ่งได้พบพระโรหนะ ที่มาบิณฑบาตที่บ้านบิดา เกิดความเลื่อมใส จึงให้บิดานิมนต์มาที่บ้านถวายภัตตาหารและคิดว่าพระรูปนี้ต้องมีศิลปวิทยามาก จึงขอศึกษาเล่าเรียนกับพระเถระ พระเถระกล่าวว่า ไม่อาจสอนให้ผู้ที่ไม่บวช จึงขอบิดาบวช ณ ถ้ำรักขิต ได้ศึกษาพุทธศาสนากับพระโรหนเถระ
ต่อมาเมื่ออายุ ๒๐ ปีก็ได้รับการอุปสมบท วันหนึ่งเกิดตำหนิอุปัชฌาย์ในใจว่า อุปัชฌาย์ของเราช่างโง่จริง ให้เราศึกษาพระอภิธรรมก่อนเรียนสูตรอื่นๆ พระโรหณะผู้อุปัชฌาย์ทราบกระแสจิตจึงกล่าวว่า พระนาคเสนคิดอย่างนี้ไม่ถูกต้อง พระนาคเสนทราบว่าพระอุปัชฌาย์รู้วาระจิตของตน จึงตกใจและขอขมา แต่พระเถระกล่าวว่า เราจะยังไม่ให้อภัยง่ายๆ พระนาคเสนต้องไปทำภารกิจอย่างหนึ่งที่สำคัญ คือ ต้องไปโปรดพระเจ้ามิลินท์ ณ เมืองสาคละ ให้เลื่อมใสในพระรัตนตรัยก่อนจึงจะให้อภัย
จากนั้นพระโรหนะก็ส่งพระนาคเสนไปศึกษาเพิ่มเติมกับพระอัสสคุตตะ ณ วัตตนิยเสนาสนะวิหาร เมืองสาคร พักอยู่ ๗ วัน พระเถระจึงยอมรับเป็นศิษย์
ต่อมา พระนาคเสนได้แสดงธรรมเทศนาให้เศรษฐีท่านหนึ่งฟังจนได้บรรลุโสดาบัน และเมื่อมาไตร่ตรองคำสอนที่ตนสั่งสอนอุบาสกก็บรรลุโสดาบันตามด้วย
ต่อมาไม่นาน พระนาคเสนจึงเดินทางจากสาคละไปสู่ปาฎลีบุตร พักที่อโศการาม แล้วศึกษาธรรมกับพระธรรมรักขิตจนจบภายใน ๖ เดือน จึงเดินทางไปบำเพ็ญเพียรที่รักขิตคูหา เป็นเวลานาน ในที่สุดก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ คณะสงฆ์ทั้งหลายจึงอนุโมทนาแล้วประกาศให้ท่านไปโต้วาทะกับพระยามิลินท์ พระนาคเสนจึงเดินทางไปนครสาคละ แล้วพบพระเจ้ามิลินท์ที่นั่น เมื่อได้ตอบโต้ปัญหากับพระเจ้ามิลินท์แล้ว ทำให้พระองค์เกิดความเลื่อมใสในพุทธศาสนาขึ้นมาได้ และเปล่งว่าจาถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต
   - คุณธรรมสำคัญ

สมเด็จพระวันรัต (เฮง  เขมจารีมหาเถระ)
   - ประวัติโดยย่อ
   - คุณธรรมสำคัญ

พระอาจารย์มั่น  ภูริทตฺโต
   - ประวัติโดยย่อ
   - คุณธรรมสำคัญ

อาจารย์สุชีพ  ปุญญานุภาพ
   - ประวัติโดยย่อ
   - คุณธรรมสำคัญ

ชาดก ม.4

ชาดก : เวสสันดรชาดก
http://www.fungdham.com/book/todsachad.html
บุคคลสำคัญ
   พระเจ้าสัญชัย
   พระนางผุสดี
   พระเวสสันดร
   พระนางมัทรี
   ชาลีกุมาร
   กัณหากุมารี
   ชูชก
   นางอมิตดา
   ช้างปัจจัยนาเคนทร์
http://mahachat.com/
ทศชาติ
หัวใจทศชาติชาดก    :  เต  ชะ  สุ  เน  มะ  ภู  จะ  นา  วิ  เว
1. เต = เตมีย์             บำเพ็ญ เนกขัมมะบารมี
2. ชะ = มหาชนก       บำเพ็ญ วิริยะบารมี
3. สุ = สุวัณณสาม    บำเพ็ญ เมตตาบารมี
4. เน = เนมิราช         บำเพ็ญ อธิษฐานบารมี
5. มะ = มโหสถ         บำเพ็ญ ปัญญาบารมี
6. ภู = ภูริทัต             บำเพ็ญ ศีลบารมี
7. จะ = จันทกุมาร     บำเพ็ญ ขันติบารมี
8. นา = นารท           บำเพ็ญ อุเบกขาบารมี
9. วิ = วิฑูร                บำเพ็ญ สัจจะบารมี
10. เว = เวสสันดร     บำเพ็ญ ทานบารมี
http://mahachat.com/
เวสสันดรชาดก  :  13 ตอน (กัณฑ์)  รวม 1000 พระคาถา
ตอนที่ 1 ทศพร            19    พระคาถา
ตอนที่ 2 หิมพานต์       134  พระคาถา
ตอนที่ 3 ทานกัณฑ์      209  พระคาถา
ตอนที่ 4 วนประเวศน์    57   พระคาถา
ตอนที่ 5 ชูชก               79    พระคาถา
ตอนที่ 6 จุลพน            35    พระคาถา
ตอนที่ 7 มหาพน          80    พระคาถา
ตอนที่ 8 กุมาร              101  พระคาถา
ตอนที่ 9 มัทรี                90   พระคาถา
ตอนที่ 10 สักกบรรพ     43   พระคาถา
ตอนที่ 11 มหาราช        69   พระคาถา
ตอนที่ 12 ฉกษัตริย์       36   พระคาถา
ตอนที่ 13 นครกัณฑ์      48   พระคาถา
http://mahachat.com/

พุทธสาวก พุทธสาวิกา ม.4

พุทธสาวก พุทธสาวิกา

พระอัสสชิเถระ
  - ประวัติโดยย่อ
  - คุณธรรมหรือแบบอย่างในการดำเนินชีวิต

พระกีสาโคตมีเถรี
  - ประวัติโดยย่อ
  - คุณธรรมหรือแบบอย่างในการดำเนินชีวิต

พระนางมัลลิกา
  - ประวัติโดยย่อ
  - คุณธรรมหรือแบบอย่างในการดำเนินชีวิต

หมอชีวกโกมารภัจ
  - ประวัติโดยย่อ
  - คุณธรรมหรือแบบอย่างในการดำเนินชีวิต

พุทธศาสนสุภาษิต ม.4

พุทธศาสนสุภาษิต

สุภาษิต แปลว่า  ถ้อยคำที่กล่าวไว้ดี (สุ=ดี , ภาษิต=กล่าว) สามารถนำมาเป็นคติ ยึดถือเป็นหลักใจได้
พุทธศาสนสุภาษิต  หมายถึง ถ้อยคำสั้นๆ ดีๆ ในพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้แล้ว หรือพระเถระ พระเถรี บัณฑิตทั้งหลางกล่าวไว้แล้ว เป็นคติเตือนใจ ส่งเสริมให้ทำความดี

หลักการอ่านและเขียนบาลี
- วงกลมจุดโปร่งอยู่ด้านบน  เรียกว่า "นิคหิต" มีค่า =ไม้หันอากาศและ ง หรือ ง เท่านั้น
- วงกลมจุดทึบอยู่ด้านล่าง  เรียกว่า "พินทุ" มีค่า = ตัวสะกด ไม่ต้องอ่านออกเสียง
- สระอะ  ในภาษาบาลีไม่ปรากฎรูป แต่พยัญชนะทุกตัวต้องอาศัยสระจึงจะออกเสียงได้

พุทธศาสนสุภาษิต ม.4
จิตฺตํ  ทนฺตํ  สุขาวหํ 
จิตตัง  ทันตัง  สุขาวะหัง
จิตที่ฝึกดีแล้วนำสุขมาให้

น  อุจฺจาวจํ  ปณฺฑิตา  ทสฺสยนฺติ
นะ  อุจจาวะจัง  ปัณฑิตา  ทัสสะยันติ
บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่แสดงอาการขึ้นๆ ลงๆ

โกธํ  ฆตฺวา  สุขํ  เสติ
โกธัง  ฆัตตะวา  สุขํ  เสติ
ฆ่าความโกรธได้ย่อมอยู่เป็นสุข

นตฺถิ  โลเก  อนินฺทิโต
นัตถิ  โลเก  อะนินทิโต
คนไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก