วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ศาสนิกชนตัวอย่าง

พระนาคเสน-พระยามิลินท์
   - ประวัติโดยย่อ
เป็นผู้ทำให้พระเจ้ามิลินท์กลับมานับถือพุทธศาสนา และสนับสนุนเป็นอย่างดี ในมิลินทปัญหากล่าวว่า พระนาคเสนเกิดที่เมืองกชังคละ แถบภูเขาหิมาลัย บิดาเป็นพราหมณ์ชื่อว่าโสณุตตระ ในวัยเด็กอายุ ๗ ขวบได้ศึกษาไตรเพทและศาสตร์อื่นๆ จนเจนจบครบถ้วน จึงถามบิดาว่ายังมีศาสตร์อื่นที่จะต้องเรียนอีกบ้างไหม บิดาตอบว่ามีเท่านี้แหล่ะ
ต่อมาวันหนึ่งได้พบพระโรหนะ ที่มาบิณฑบาตที่บ้านบิดา เกิดความเลื่อมใส จึงให้บิดานิมนต์มาที่บ้านถวายภัตตาหารและคิดว่าพระรูปนี้ต้องมีศิลปวิทยามาก จึงขอศึกษาเล่าเรียนกับพระเถระ พระเถระกล่าวว่า ไม่อาจสอนให้ผู้ที่ไม่บวช จึงขอบิดาบวช ณ ถ้ำรักขิต ได้ศึกษาพุทธศาสนากับพระโรหนเถระ
ต่อมาเมื่ออายุ ๒๐ ปีก็ได้รับการอุปสมบท วันหนึ่งเกิดตำหนิอุปัชฌาย์ในใจว่า อุปัชฌาย์ของเราช่างโง่จริง ให้เราศึกษาพระอภิธรรมก่อนเรียนสูตรอื่นๆ พระโรหณะผู้อุปัชฌาย์ทราบกระแสจิตจึงกล่าวว่า พระนาคเสนคิดอย่างนี้ไม่ถูกต้อง พระนาคเสนทราบว่าพระอุปัชฌาย์รู้วาระจิตของตน จึงตกใจและขอขมา แต่พระเถระกล่าวว่า เราจะยังไม่ให้อภัยง่ายๆ พระนาคเสนต้องไปทำภารกิจอย่างหนึ่งที่สำคัญ คือ ต้องไปโปรดพระเจ้ามิลินท์ ณ เมืองสาคละ ให้เลื่อมใสในพระรัตนตรัยก่อนจึงจะให้อภัย
จากนั้นพระโรหนะก็ส่งพระนาคเสนไปศึกษาเพิ่มเติมกับพระอัสสคุตตะ ณ วัตตนิยเสนาสนะวิหาร เมืองสาคร พักอยู่ ๗ วัน พระเถระจึงยอมรับเป็นศิษย์
ต่อมา พระนาคเสนได้แสดงธรรมเทศนาให้เศรษฐีท่านหนึ่งฟังจนได้บรรลุโสดาบัน และเมื่อมาไตร่ตรองคำสอนที่ตนสั่งสอนอุบาสกก็บรรลุโสดาบันตามด้วย
ต่อมาไม่นาน พระนาคเสนจึงเดินทางจากสาคละไปสู่ปาฎลีบุตร พักที่อโศการาม แล้วศึกษาธรรมกับพระธรรมรักขิตจนจบภายใน ๖ เดือน จึงเดินทางไปบำเพ็ญเพียรที่รักขิตคูหา เป็นเวลานาน ในที่สุดก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ คณะสงฆ์ทั้งหลายจึงอนุโมทนาแล้วประกาศให้ท่านไปโต้วาทะกับพระยามิลินท์ พระนาคเสนจึงเดินทางไปนครสาคละ แล้วพบพระเจ้ามิลินท์ที่นั่น เมื่อได้ตอบโต้ปัญหากับพระเจ้ามิลินท์แล้ว ทำให้พระองค์เกิดความเลื่อมใสในพุทธศาสนาขึ้นมาได้ และเปล่งว่าจาถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต
   - คุณธรรมสำคัญ

สมเด็จพระวันรัต (เฮง  เขมจารีมหาเถระ)
   - ประวัติโดยย่อ
   - คุณธรรมสำคัญ

พระอาจารย์มั่น  ภูริทตฺโต
   - ประวัติโดยย่อ
   - คุณธรรมสำคัญ

อาจารย์สุชีพ  ปุญญานุภาพ
   - ประวัติโดยย่อ
   - คุณธรรมสำคัญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น